Reviews ข่าวสาร Blockchain ข่าวสาร เศรษฐกิจโลก

บล็อคเชน (Blockchain) คืออะไร

มีคนกล่าวไว้ว่า หาก Internet คือ Technology ที่เปลี่ยนแปลงโลกของเรา บล็อคเชน (Blockchain) คือ Technology อันถัดไป ซึ่งเรื่องราวของ บล็อคเชน (Blockchain) เริ่มถูกกล่าวขานมากขึ้นเมื่อ สิ่งที่เรียกว่า Bitcoin ได้ถือกำหนดขึ้นมา เพราะเบื้องหลังของ Bitcoin มี Blockchain เป็นแกนหลักอยู่ข้างหลังนั่นเอง

มาวันนี้ผมเลยอยากมาแบ่งปันว่า

  • Blockchain คืออะไร
  • Blockchain ทำงานอย่างไร
  • Blockchain มันจะมาเปลี่ยนโลกเราได้อย่างไร

BLOCKCHAIN คืออะไร

พูดง่ายๆให้เห็นภาพชัดๆ บล็อคเชน (Blockchain) ก็เปรียบเสมือน ฐานข้อมูล หรือ สมุดบัญชี ที่คอยควบคุมดูแลการจัดเก็บ ทุกๆข้อมูลหรือทุกๆกิจกรรมของการติดต่อสื่อสาร (Transaction) ที่เติบโตขึ้นตลอดเวลา

แต่ Blockchain มี 5 จุดเด่นที่แตกต่าง จากระบบฐานข้อมูลเท่าไปคือ

  1. แชร์ข้อมูลออกสู่สาธารณะ – Servers หรือ Node ต่างๆจะมีหน้าที่ดูแลข้อมูล “แหล่งเก็บบันทึกข้อมูล” หรือที่เราเรียกว่า “Block” และทุกๆ Node จะมีความสามารถที่ดูได้ว่า ข้อมูล Transaction นั้นๆถูกจัดเก็บใน “Block” ใด (ข้อมูลจะมีการเข้ารหัส Hash)
  2. ไม่มีศูนย์กลาง (Decentralized) ในการ ตรวจสอบข้อมูล Transaction ใดๆ ที่เกิดขึ้น
  3. มีความปลอดภัย (Secure) ข้อมูลที่จัดเก็บใน Block จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง, เอาค่าคืนกลับมาไม่ได้ หรือแม้กระทั่งทำลายข้อมูลนั้นก็ตาม
  4. มีความน่าเชื่อถือ (Trusted) ด้วยธรรมชาติของการไม่มีศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูล ดังนั้น ระบบจึงต้องฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ เมื่อมี Transaction เกิดขึ้นจากคนที่ไม่รู้จัก
  5. ทำงานอัตโนมัติ (Automated) Software จะถูกเขียนขึ้นให้ป้องกันการเขียนข้อมูลซ้ำซ้อน และการจัดเก็บข้อมูล Transaction ก็ดำเนินการแบบอัตโนมัติเช่นกัน

blockchain บล็อคเชน คืออะไร

Blockchain มีหน้าที่หลักๆ 2 อย่างคือ ควบคุมข้อมูลและป้องกันการซ้ำข้อมูล ซึ่งใน 1 Block จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ

  1. ID ประจำ Block ซึ่งเป็นตัวเลขสุ่ม ที่เข้ารหัส Hash ไว้
  2. ID ของ Block ก่อนหน้านี้ ซึ่งเข้ารหัส Hash ไว้เช่นกัน
  3. ข้อมูล Transaction ซึ่งอาจจะมีเพียง 1 Transaction หรือมากกว่านั้นก็ได้
  4. Public Key ที่บอกว่า Block นี้เป็นของใคร ใครส่งให้ใคร ใครเป็นผู้รับ

ก่อกำเนิด Distributed Ledger

ทุก Block จะถูกสร้างขึ้น ก็ต่อเมื่อมีหลายๆ Node ตกลงว่าจะยอมรับและมีการตรวจสอบว่า Transaction นั้นถูกต้อง กระบวนการนี้จึงถูกเรียกว่า “Distributed Ledger” ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ต้องใช้ การเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลาง เพื่อใช้ในการตรวจสอบ จึงมีคำถามถัดมาว่าแล้วถ้า Node นั้นๆ เกิดปิดเครื่องขึ้นมาจะทำยังไง มันเลยมีคนสร้าง Server ไว้ให้กระบวนการนี้นั่นเอง หรือเรามักจะเรียกว่าการ Mining

การตรวจสอบความถูกต้อง Block นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ขั้นตอนคือ

  1. PROOF OF WORK (POW) กระบวนการตรวจสอบว่า Ledger หรือ บัญชีข้อมูลนี้ ไม่ได้ถูกแฮกเข้ามา ซึ่งกระบวนการตรวจสอบนี้จะต้องใช้ Computer เข้ามาช่วย (เครื่องที่ Mining นั่นเอง)
  2. PROOF OF STAKE ในขณะที่ Computer ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เข้ารหัส เจ้า Proof of stake ก็จะตรวจสอบความเป็นเจ้าของ ด้วยจำนวนที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ภายในข้อมูลบัญชี (Ledger) นั้นจะไม่มีการเก็บข้อมูลเจ้าของ แต่จะเก็บเพียงข้อมูล Transaction ทั้งหมดที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ กระเป๋าตังส์ (Wallet) จะสามารถอ้างอิงไปยังเจ้าของผ่านทางข้อมูล Transaction ที่ผ่านมานั่นเอง

SMART CONTRACTS

เมื่อมี Transaction เกิดขึ้น เจ้าตัว ‘Smart Contracts’ จะทำงานด้วยตัวมันเองทันที ซึ่งตัว Smart Contracts นี้ยังยอมให้เราสามารถเขียนโปรแกรมตามเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นของ Blockchain Transaction ได้ ซึ่งในส่วนของ Application ที่นักพัฒนาจะพัฒนาขึ้นในอนาคตก็จะเริ่มที่ Smart Contracts เป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

มีหลายๆธุรกิจได้มีการนำ Smart Contracts ไปใช้ เช่นในประเทศ ฮอนดูรัส ก็เป็นประเทศแรกที่ได้มีการนำ Smart Contracts ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลการขายต่อ/โอนทรัพย์สิน

การลดค่าใช้จ่ายคือความหวังอันยิ่งใหญ่

  • มีการคาดการณ์ไว้ว่า เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบหลังบ้าน ได้มากถึง $54bn
  • เมื่อเริ่มเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในธุรกิจธนาคารจะสามารถเพิ่มรายได้ได้มากถึง $8bn
  • และเมื่อคนประมาณ 20% เข้ามาใช้ บล็อคเชน (Blockchain) จะช่วยให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้นถึง $28bn

และทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคาต่างๆ และ ภาคธุรกิจอื่นๆจึงให้ความสนใจในเทคโนโลยี บล็อคเชน (Blockchain) เป็นจำนวนมาก

ที่มา : http://www.businessinsider.com/what-is-blockchain-2016-3